วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

CMS LMS AND PORTFOLIO

         CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ ตัวของ CMS เองจะมีโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรกเองได้มากมายเช่น webboard , ระบบจัดการป้ายโฆษณา , ระบบนับจำนวนผู้ชม แม้แต่กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย 

    CMS เป็นเหมือนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่างเช่น Mambo , Joomla , Wordpress 

    แน่นอนว่าผู้พัฒนาระบบ CMS ฟรี ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเป็นมืออาชีพที่มีฝีมือในเรื่องของ เว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเขียนโปรแกรมที่รัดกุม การออกแบบเนวิเกชั่นที่ดี ทำให้ภาพรวมของเว็บไซต์ที่ใช้ CMS นั้นออกมาในแนวมืออาชีพอย่างมาก 

ข้อดีของ CMS 

    1.ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เนต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้ 

    2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก 

    3.ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด 

    4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่ 

    5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ 

ข้อเสียของ CMS 

    1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื้องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้

    2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น 

    3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 


     LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้  เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตาม ที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหากิจกรรมต่างๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้
       LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
       1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) 
       กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจาก       ที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวน        บทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งาน      ภาษาไทยอย่างเต็ม

        2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) 
        ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media 

        3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) 
        มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจ
ข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

        4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) 
        ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

        5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) 
       ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin 

        การนำระบบ LMS ไปประยุกต์ใช้งาน
         ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM)       


         ผู้ใช้งานในระบบ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
         1. กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) 
        ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
         2. กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) 

        ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
        3. กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest)    

        หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้

 
        ลักษณะของ LMS      
        1. กำหนดผู้ใช้งาน
        2. ระบบการสือสาร
        3. แหล่งอ้างอิง
        4. การตรวจและให้คะแนน
        5. การติดตามพฤติกรรมการเรียน
        6. การรายงานผล
        7. ระบบการสอน
        8. ความสามารถในการนำเสนอ Rich Media


        ส่วนประกอบระบบ LMS
       
        1. ส่วนเนื้อหาในบทเรียน (Lecture and Presentation)
        2. ส่วนของการทดสอบในบทเรียน (Testing)
        3. ส่วนของการพูดคุยในห้องสนทนา (Chat)
        4. กระดานข่าว (Webboard)
        5. ส่วนของการติดต่อผ่าน E-mal
        6. ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน
             - การลงทะเบียนของผู้เรียน
             - การบันทึกคะแนนของผู้เรียน
             - การรับ-ส่งงานของผู้เรียน
            - การเรียกดูสถิติของการเข้าเรียน


   ความหมายของ Portfolio
 ระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ในระบบ Online ผ่านทาง Internet สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลและเนื้อหาสาระมาจากแฟ้มผลงาน (hard copy portfolio) เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบความสำเร็จในระดับใด โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ web
วัตถุประสงค์ของแฟ้มสะสมงาน
เพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่า ผลงานที่ทำเป็นอย่างไร ประสบผลสำเร็จระดับใด มีระบบหรือไม่ ควรจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่เพื่อให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ได้ประเมินของแฟ้มว่ามีความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จในระดับใด ควรจะพัฒนาหรือไม่อย่างไร
ลักษณะแฟ้มสะสมงาน
            แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครื่องมือสาหรับการเรียนรู้ โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นที่เกิดจากการทางาน การค้นคว้าข้อมูล
2. เครื่องมือที่สาหรับแสดงสมรรถนะ แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน
3. เครื่องมือสาหรับการประเมิน ทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางาน และ การประเมินผลลัพธ์ (summative evaluation) ประเมินผลงานที่เป็นผลจากการดาเนินงาน การประเมินจะต้องแสดงให้เห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง สาหรับวางแผนการพัฒนาสมรรถนะในอนาคต
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา
นักเรียน
v  ตู้โชว์ความสำเร็จบนหน้าเว็บ
v  รวบรวมและสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของนักเรียน
v  แลกเปลี่ยนประสบการณ์การศึกษาและการทำงานของนักเรียน
v  สร้างงานแบบไดนามิก
v  สร้างแผนของการศึกษาออนไลน์และการทำงานกับที่ปรึกษาของนักเรียน
อาจารย์ผู้สอน
§  สร้างโครงการ/ผลงานที่มีเกณฑ์การให้คะแนน
§  สร้างโครงการร่วมกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาอื่น
§  สามารถทำงานออนไลน์ ให้นักศึกษาความเห็นและให้คะแนนได้ '
§  สร้างแฟ้มผลงานที่ส่งเสริมการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียน
§  ตู้โชว์ความสำเร็จ
สถาบันการศึกษา
q   เก็บงานของนักเรียน เพื่อการประเมินผล
q   เลือกทำงานแบบสุ่มและไม่ระบุชื่อ
q   ใช้เก​​ณฑ์การให้คะแนนตามผลงานที่ปรากฏ
q   สร้างรายงานผลการจัดการเรียนการสอนได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
q   ส่งออกข้อมูลดิบสำหรับการวิเคราะห์ต่อไป
ข้อดี
1.  ลดการใช้ทรัพยากรสานักงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
2. สะดวกต่อการบริหารจัดการ สามารถส่งข้อมูลที่เป็นทั้ง ภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว สาหรับกิจกรรมและภาระงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้ทุกที่ ทุกเวลา
3. สะดวกสาหรับผู้บริหารในการพิจารณาผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในสายบังคับบัญชา
4. นำเสนอผลงานซึงสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการ นำเสนอ เช่น  ข้อมูล ประวัติ หรือเนื้อหาต่างๆ ทีจะชี้ให้เห็นศักยภาพของเจ้าของแฟ้ม สะสมงาน
ข้อจำกัด
1. การแก้ไข e-Portfolio ในทุกครั้งต้องทำการแก้ไขบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. ผู้ชมที่ไม่มีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเข้าชม e-Portfolio ได้
3. ผู้เรียนและผู้สอน มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต



สมาชิกในกลุ่ม


1.นางสาว กาญจนา กรีคงคา รหัสนักศึกษา 534116203
2. นางสาว พรทิพย์ ศักดิ์สุนทร รหัสนักศึกษา 534116222
3.นางสาว วิไลวรรณ เอมทอง รหัสนักศึกษา 534116228
4.นางสาว สุพรรณ ดิษฐ์กระจัน รหัสนักศึกษา 534116240
5.นางสาว อังคณา อู่ทอง รหัสนักศึกษา 534116244